วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558

sunitjo travel พานั่งรถข้ามประเทศ เวียดนาม-กัมพูชา รถบัสระหว่างประเทศ กัมพูชา พนมเปญ- เวียดนามโฮจิมินห์ สะดวก สบาย ราคาประหยัด BUS From Ho chi Minh To Phnom Penh

sunitjo travel พานั่งรถข้ามประเทศ เวียดนาม-กัมพูชา รถบัสระหว่างประเทศ กัมพูชา พนมเปญ- เวียดนามโฮจิมินห์ สะดวก สบาย ราคาประหยัด BUS From Ho chi Minh To Phnom Penh

ไซ่ง่อนในอดีตเคยเป็นเมืองในการปกครองของเขมรมาก่อนเรียกว่า แปรยนคร ต่อมาเมื่อแยกเป็นประเทศเวียดนาม ไซ่ง่อนเป็นเมืองหลวงของเวียดนามใต้ เมื่อเวียดนามเหนือยึดได้จึงเปลี่ยนชื่อเป็น นครโฮจิมินห์ ตามชื่อผู้นำเวียดมินห์ คือ โฮจิมินห์

นครโฮจิมินห์ หรือ โฮจิมินห์ซิตี (เวียดนาม: Thành phố Hồ Chí Minh; อังกฤษ: Ho Chi Minh City, ตัวย่อ HCMC) หรือชื่อเดิม ไซ่ง่อน (อังกฤษ: Saigon; เวียดนาม: Sài Gòn ส่ายก่อน) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศเวียดนาม ตั้งอยู่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง โฮจิมินห์เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเวียดนาม จากประชากรร้อยละ 7.5 ของประเทศ แต่มีจีดีพีถึงร้อยละ 20.2 และการลงทุนจากต่างประเทศมากถึงร้อยละ 34.9 ของทั้งประเทศ



แผนที่จัดทำขึ้นใหม่บน Google Earth Map แสดงเส้นทางคมนาคมระหว่างกรุงพนมเปญกับนครโฮจิมินห์ และแสดงตัวเมืองสำคัญในอาณาบริเวณโดยรอบ ตัวเลขที่เปิดเผยสัปดาห์ที่แล้วแสดงให้เห็นการไปมาหาสู่กันอย่างคึกคักระหว่างเวียดนามและกัมพูชา ในขณะที่อาเซียนทั้งหลุ่มกำลังจะหลอมรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวในปี 2558 ภายใต้ความตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน.



 พนมเปญไม่ได้มีจุดเริ่มต้นจากการเป็นถิ่นฐานที่ตั้งหลัก จนกระทั่งเข้าสู่ยุคเมืองพระนคร หลังจากนครวัดและเมืองอื่นๆใกล้เคียงเริ่มมีชื่อเสียงโดดเด่นประจักษ์สู่สายตาประชาคมโลก ช่วงกลางศตวรรษที่ 15 เจ้าพระยาญาติย้ายราชธานีจากเมืองพระนครหนีสยามมาตั้งอยู่ที่นครวัดและสร้างพระราชวัง ณ พื้นที่ที่เป็นกรุงพนมเปญในปัจจุบัน ต่อมาภายหลังมีการสร้างเจดีย์ขึ้นซึ่งในขณะนั้นเมืองยังไม่ได้เป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1866 ภายใต้การปกครองของพระบาทสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ จึงได้แต่งตั้งกรุงพนมเปญเป็นเมืองหลวงของประเทศ

อย่างไรก็ตามสามปีก่อนตั้งกรุงพนมเปญเป็นราชธานี กัมพูชาลงนามในสนธิสัญญายอมเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส ซึ่งต่อมาถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสแถบอินโดจีนที่รวมถึงเวียดนามและลาว ภายใต้อำนาจการปกครองแบบเต็มรูปแบบของปารีส ทำให้พนมเปญมีศักยภาพและเติบโตแบบก้าวกระโดด จากเมืองที่มีขนาดเล็กกว่าหมู่บ้าน ก้าวไปสู่การพัฒนาเป็นเมืองท่าริมน้ำที่ทันสมัยของฝรั่งเศส

แม้จะมีความวุ่นวายในส่วนอื่นๆ ของประเทศทั้งก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แต่พนมเปญยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสจนกระทั่งปี ค.ศ. 1953 ภายใต้การนำของสมเด็จนโรดมสีหนุและคลื่นมวลชนชาวเขมรที่ออกมาเรียกร้องเอกราช จนได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสอย่างสมบูรณ์ ซึ่งช่วงต้นของปี ค.ศ. 1970 พนมเปญค่อนข้างมีความสงบท่ามกลางทะเลสงครามในประเทศกัมพูชา

ในปี ค.ศ. 1975 กองกำลังเขมรแดงภายใต้การนำของพอลพตบุกโจมตีพนมเปญ หลังจากเข้ายึดครองไม่กี่วันจึงเริ่มกวาดล้างประชากรกว่าสองล้านคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โดยเนรเทศออกไปสู่ชนบท ภายใน 4 ปีพนมเปญแทบร้างผู้คน ยกเว้นเขตพื้นที่กักกัน เช่น S-21 และพื้นที่บางส่วนที่ชาวเขมรแดงอาศัยอยู่

เมื่อเขมรแดงถูกขับไล่ออกไปจากกรุงพนมเปญในปี ค.ศ. 1979 ผู้คนจึงค่อยๆ ทยอยกลับเข้ามาอาศัยในเมืองอีกครั้ง แต่เนื่องจากสภาพบ้านเมืองที่ถูกทำลายและทรุดโทรมอย่างมาก รวมถึงจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นน้อย องค์การระหว่างประเทศจึงเริ่มเข้ามามีบทบาทและให้ความช่วยเหลือในการฟื้นฟูบ้านเมือง หลังจากการลงนามในความตกลงทางการเมืองสมบูรณ์แบบในความขัดแย้งกัมพูชา หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า ข้อตกลงสันติภาพกรุงปารีส (Paris Peace Agreement) ในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งคืนเสถียรภาพเต็มที่แก่ประชาชนชาวกัมพูชา

ในปี ค.ศ. 1999 กัมพูชาเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งสนับสนุนและดึงดูดให้ชาวต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนในกัมพูชามากขึ้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นในทางที่ดีสำหรับประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประเทศ




แผนที่จัดทำขึ้นใหม่บน Google Earth Map แสดงเส้นทางคมนาคมระหว่างกรุงพนมเปญกับนครโฮจิมินห์ และแสดงตัวเมืองสำคัญในอาณาบริเวณโดยรอบ ตัวเลขที่เปิดเผยสัปดาห์ที่แล้วแสดงให้เห็นการไปมาหาสู่กันอย่างคึกคักระหว่างเวียดนามและกัมพูชา ในขณะที่อาเซียนทั้งหลุ่มกำลังจะหลอมรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวในปี 2558 ภายใต้ความตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน.







 ในแต่ละวัน จะมีรถโดยสารวิ่งให้บริการข้ามพรมแดนระหว่างเวียดนามกับกัมพูชาถึง 300 คัน โดยบริษัทเอกชนผู้ให้บริการจำนวน 19 ราย เฉพาะอย่างยิ่ง ระหว่างนครโฮจิมินห์กับกรุงพนมเปญนั้น มีรถบัสโดยสารประจำทางวิ่งถึงวันละ 39 เที่ยว
     
       นางเหวียนถิห่งม์ (Nguyễn Thị Hồng) รองประธานคณะกรรมการประชาชนนครโฮจิมินห์ เป็นผู้เปิดเผยตัวเลขเหล่านี้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างพิธีเปิดเดินรถบัสโดยสารประจำทางสายใหม่ระหว่างโฮจิมินห์กับพนมเปญ ในขณะที่การท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีมานี้
     
       ถ้าหากตัวเลขทั้งหมดนี้เป็นความจริง ก็จะแสดงให้เห็นถึงการคมนาคมขนส่งอันคึกคักที่สุดในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ในขณะที่ประเทศแถบนี้ซึ่งรวมทั้งไทย ลาว และพม่า กำลังจะหลอมรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันในอีก 3 ปีข้างหน้า ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทีมีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
     
       นางห่มง์กล่าวว่า ปัจจุบัน เวียดนาม-กัมพูชา มีด่านชายแดนระหว่างกันรวม 8 แห่ง สองประเทศมีข้อตกลงอนุญาตให้บริษัทเอกชนจำนวน 19 แห่งให้บริการเดินรถระหว่าวงสองประเทศ รวมจำนวนรถโดยสารถึง 300 คัน มากที่สุดคือ เส้นทางโฮจิมินห์-พนมเปญ
     
       บริษัทนากาเวิลด์ (NagaWorld) เจ้ากาสิโนเพียงแห่งเดียวในพนมเปญเปิดให้บริการรถโดยสารประจำทางสายใหม่ระหว่างเมืองหลวงกัมพูชากับนครโฮจิมินห์ ด้วยรถปรับอากาศรุ่นใหม่ทันสมัยขนาด 28 ที่นั่ง จำนวน 20 คัน ด้วยเงินทุน 3 ล้านดอลลาร์ ทำให้การขนส่งทางบกระหว่างสองประเทศสะดวกสบายยิ่งขึ้น โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา
     
       รถบัสโดยสารสายใหม่ให้บริการไปกลับวันละ 6 เที่ยว ในความพยายามดึงดูดชาวเวียดนาม รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ให้ไปเที่ยวกัมพูชามากยิ่งขึ้น ในอนาคตจะเปิดให้บริการจากโฮจิมินห์ไปยังเสียมราฏกับสีหนุวิลล์ ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวริมทะเลอ่าวไทยด้วย เว็บไซต์ข่าวซแว็งเญินไซ่ง่อน (Doanh Nhân Sài Gòn) กล่าว
     
       นายทองคูน รัฐมนตรีกระทรวงท่องเที่ยวกัมพูชากล่าวในงานพิธีเดียวกันว่า ปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยวชาวเวียดนามเดินทางเข้ากัมพูชา 600,000 คน มากเป็นอันดับ 1 และคิดเป็นประมาณ 21% ของทั้งหมด ไตรมาสแรกของปีนี้ มีชาวเวียดนามเดินทางไปเที่ยวกัมพูชา 179,000 คน เพิ่มขึ้น 18% เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
     
       ส่วนรองประธานคณะกรรมการประชาชนนครโฮจิมินห์กล่าวว่า หลายปีมานี้ มีชาวกัมพูชาเดินทางเข้าเวียดนามเพิ่มขึ้นปีละ 30% และบริการรถโดยสารสายใหม่นี้จะช่วยเพิ่มจำนวนชาวกัมพูชาที่เดินทางเข้าเวียดนามเช่นกัน ทั้งเพื่อการท่องเที่ยว การศึกษา และการรักษาสุขภาพ.

       .ASTVผู้จัดการออนไลน์



















































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น